รับจํานอง ขายฝากบ้าน

รับจํานอง ขายฝากบ้าน แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

การจำนองและการขายฝาก ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนล้วนแต่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีรับจํานอง ขายฝากบ้านเป็นผู้ซื้อ ส่วนคนที่จำนองหรือขายฝากเป็นผู้ขาย ทรัพย์สินที่นำมาทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันในกรใช้หนี้ ทั้งสองแบบมีอะไรที่ต่างกันบ้างนั้น จะนำมากล่าวถึงในบทความนี้ 

รับจํานอง ขายฝากบ้าน ดำเนินการอย่างไร  

การรับจํานอง ขายฝากบ้าน แม้จะเป็นการประกันเพื่อชำระหนี้เหมือนกัน แต่วิธีดำเนินงานมีความแตกต่างกัน ซึ่งการจำนองคือหลักประกันหนี้ที่นำอสังหาริมทรัพย์อย่างที่ดินไปตราแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกันชำระหนี้ ทรัพย์สินที่ใช้จำนองต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็มีสังหาริมทรัพย์บางประเภทที่จำนองได้เช่น แพ เรือกลไฟ เรือกำปั่น สัตว์พาหนะ  

หากจดทะเบียนไว้ก็สามารถจำนองโดยไม่ต้องมอบสินทรัพย์แก่เจ้าหนี้ เมื่อชำระหนี้ตามเวลาได้ครบ ก็จะไม่ถูกริบทรัพย์สินไปนั่นเอง ส่วนการขายฝากบ้านเป็นการนำโฉนดบ้านมอบให้กับผู้รับขายฝาก กรรมสิทธิ์ในบ้านก็เป็นของผู้ซื้อทันทีหลังทำสัญญา ผู้ขายฝากสามารถไถ่คืนกลับมาได้ตามเวลาที่กำหนด หากคืนไม่ครบหรือไม่ตรงตามเวลา จะไม่มีสิทธิ์ไถ่คืนได้อีก  

ความต่างของการจำนองและขายฝาก  

สิ่งที่เกิดความแตกต่างกันของการรับจํานอง ขายฝากบ้าน มีดังนี้ 

  • การจำนอง 
  • วงเงินที่ผู้ขายฝากได้อยู่ที่ 10-30 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณเมื่อเทียบราคาประเมิน 
  • ค่าธรรมเนียมที่จ่ายคิดในอัตราร้อยละ 1 เมื่อเทียบวงเงินจำนอง 
  • ผู้ที่จำนองไม่จำเป็นต้องให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกับผู้ที่รับซื้อฝาก 
  • ผู้จำนองสามารถใช้ทรัพย์สินต่อได้ 
  • สัญญาชำระหนี้ไม่มีกำหนดเวลา สามารถใช้หนี้ได้จนกว่าจะหมด 
  • การขายฝาก 
  • วงเงินที่ผู้ขายฝากได้จะอยู่ที่ 40-70 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณเมื่อเทียบราคาประเมิน 
  • ค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายฝากจ่ายมีอัตราร้อยละ 2 เมื่อเทียบราคาประเมิน ภาษีจะถูกหัก ณ ที่จ่าย หากเป็นธุรกิจจะหัก 3.3 เปอร์เซ็นต์จากราคาขายฝากหรือราคาประเมิน และค่าอากรแสตมป์อยู่ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์จากราคาขายฝากหรือราคาประเมิน ถ้าเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ 
  • ผู้ขายฝากต้องให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกับผู้รับซื้อฝาก 
  • ผู้ขายฝากไม่สามารถใช้ทรัพย์สินที่ตนนำไปขายฝากได้ แต่สามารถใช้ได้หลังใช้หนี้หมดตามระยะเวลาที่กำหนด 
  • เวลาไถ่ทรัพย์สินคืนจะถูกกำหนดโดยกฎหมายซึ่งระบุไว้ 2 แบบ คือ อสังหาริมทรัพย์ไม่มากไปกว่า 10 ปี และสังหาริมทรัพย์ไม่มากกว่า 3 ปี 

จากที่กล่าวมาทำให้เห็นความต่างกันของการรับจํานอง ขายฝากบ้าน ซึ่งทั้งสองแบบถือได้ว่าเป็นการทำธุรกรรมซื้อขายที่มีหลักประกันใช้หนี้เป็นทรัพย์สินทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ข้อแตกต่างดังกล่าวจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าควรเลือกค้ำประกันแบบใด